หน้าแรก
ร้านวรันณ์ธรจำหน่ายพระเครื่อง เหล็กน้ำพี้ ดาบเหล็กน้ำพี้ มีดเหล็กน้ำพี้ มีดหมอเหล็กน้ำพี้ เหล็กไหล เหล็กไหล7สี ไหลดำ ไหลเขียว ของเสน่ห์ ของเสน่ห์แรงๆ
ของเสน่ห์เขมร แก้วขนเหล็ก แก้วโป่งข่าม เพชรหน้าทั่ง ไม้งิ้วดำ ไม้พญางิ้วดำ ไม้กลายเป็นหิน ข้าวตอกพระร่วง พระเหล็กน้ำพี้ พระแร่เหล็กน้ำพี้ และเครื่องรางของขลังอีกมากมาย
รับสาย 8.00น. - 20.00 น. โทร
084-8038208 คุณภัส
รับสาย
เช้า 9.00น.-16.00น.เช้า-เย็นโทร
087-7399336 , 089-8608818 , 087-8452061
สนใจสั่งทางไลน์ไอดี @line55  (มี@ด้วย) สนใจสั่งทางไลน์ คลิกที่นี่ >>> http://line.me/ti/p/%40line55



@line55

ฤาษี แร่น้ำพี้ หน้าตัก 5 นิ้ว

 ฤาษี แร่เหล็กน้ำพี้ หน้าตัก 5 นิ้ว

 
ทำสีแต่งองค์ 1,199 บาท
 

 องค์ปู่ฤาษี ทำจากแร่น้ำพี้ 

สีน้ำตาลบูชาองค์ละ  799  บาท
 
สีเงิน สีทอง สีนาค 899  บาท

 
             

ตำนานพระฤาษีโภคทรัพย์ ๕ พระองค์

พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร รวบรวม เรียบเรียง

ตำนานพระฤาษีโภคทรัพย์ ๕ พระองค์

ในสมัยอดีตกาล พระเจ้าจักรพรรดิทัลหเนมิ เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนไป พระองค์จึงทรงผนวชเป็นฤาษี พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เมื่อผนวชแล้วมีนามว่ามีพระนามว่า พระราชฤาษีจักรพรรดิทัลหเนมิ พระราชฤาษีจักรพรรดิ เคยฟังธรรมของ พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อผนวชเป็นราชฤาษีแล้ว ทรงสำเร็จอานาคามิมรรค อานาคามิผล เมื่อสิ้นชีพแล้ว อุบัติอยู่ในสุธาวาสพรหมโลกพระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระเจ้าจักรพรรดิทัลหเนมิ อำมาตย์ และมหาอำมาตย์ ทรงถือเพศเป็นฤาษี ขณะพระราชา ประพฤติจักกวัตติวัตร และคณะอำมาตย์ ประพฤติธรรมเป็นประโยชน์ในปัจจุบัน และประโยชน์ในภายหน้า พระราชา และคณะอำมาตย์ทั้ง ๔ ประพฤติธรรมได้ ๓ วัน สรีระที่เคยทรวดทรงดี ก็กลับกลายเป็น สรีระที่อ้วนพี สมลักษณะเจ้าแห่งโภคทรัพย์ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระเจ้าจักรพรรดิทัลหเนมิเป็นพระฤาษี นามว่า พระฤาษีธรรมราชาบดี อำมาตย์ทั้ง ๔ แปลงเพศเป็นฤาษี มีนามดังนี้ อำมาตย์คลังทอง มีนามว่า พระฤาษีคลังทอง อำมาตย์คลังแก้วแหวน แปลงเพศเป็นฤาษีนามว่า พระฤาษีคลังแก้วแหวน(พระฤาษีโภคทรัพย์) อำมาตย์คลังธัญญาหาร แปลงเพศเป็นฤาษีนามว่า พระฤาษีธัญญาหาร(พระฤาษีโภสพ) อำมาตย์คลังสินค้า แปลงเพศเป็นฤาษีนามว่า พระฤาษีคฤหบดี ฤาษีทั้ง ๕ ตนได้ฟังธรรมจากพระราชฤาษีจักรพรรดิทัลหเนมิพระฤาษีทั้ง ๕ เป็นที่นับถือของคนทั่วไป ผู้คนทั้งหลายไปฟังธรรมจากพระฤาษีทั้ง ๕ ตนนี้ทุกวัน ๑๕ค่ำ ในจักกวัตติวัตรธรรม ธรรมที่เป็นประโยชน์ในปัจจจุบัน ธรรมที่เป็นประโยชน์ในภายหน้า ธรรมที่ทำให้ทรัพย์ไหลเข้า ธรรมที่ทำให้ทรัพย์ไหลออก เหตุแห่งความเสื่อม เหตุแห่งความเจริญ บุคคลทั้งหลายได้ฟังธรรมจากพระฤาษีทั้ง ๕ ตนแล้ว ย่อมมีแต่ความเจริญ ในกาลภายหลังพระฤาษีทั้ง ๕ ตน ได้สำเร็จอานาคามิมรรค อานาคามิผล

เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิทัลหเนมิ

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลาในแคว้นมคธ ณ ที่ นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย ฯ ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสดังนี้ว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งจงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เลยดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร

    ๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

    ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯ

    ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯ

    ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจรซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตนดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน มารจักไม่ได้โอกาส มารจักไม่ได้อารมณ์ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ เจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล ฯ

แก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระเจ้าจักรพรรดิ์พระนามว่า ทัลหเนมิผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายก

แก้ว เป็นที่ ๗

อธิบายรัตน ๗ ประการ

    ๑.จักรรัตนะ หรือจักรแก้วที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินทนิล มีซี่กำหนึ่งพันซี่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีกงสำเร็จด้วย แก้วประพาฬมีที่ต่อสำเร็จด้วยทองสีแดง ซึ่งมีซี่กำเกลี้ยง ๆ อันหนึ่ง วางอยู่บนกำทุก ๆ สิบซี่ซึ่งเขาทำไว้เพื่อให้ต้องลมแล้วเปล่งเสียง มีเสียงประดุจดนตรีประกอบด้วยองค์๕ ซึ่งบรรเลงได้ไพเราะฉะนั้น ณ ที่ข้างทั้งสองของดุม มีหน้าสิงห์โตอยู่๒ หน้า ซึ่งภายในมีรูดุจ รูของล้อเกวียนฉะนั้น บุคคลผู้ที่กระทำหรือให้กระทำจักรรัตนะนั้นไม่มี จักรรัตนะนั้น ปรากฏขึ้นด้วยอุตุซึ่งมีกรรมเป็นปัจจัยพระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการอันใด ทรงสนานพระเศียรในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยังเบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ได้เห็นจักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ดุจพระจันทร์เพ็ญ และดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ซึ่งบุคคลย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่ ๑๒โยชน์ มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชนเกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่สอง ดังนี้ปรากฏอยู่ ได้ลอยมาเบื้องบนพระนครปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวันออกของภายในราชบุรี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ลอยเด่นอยู่ ประดุจไม่ไหวติง ในที่อันสมควร เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.

    ๒.ช้างแก้ว (หัตถิรัตนะ) ซึ่งอุบัติติดตามพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้นเป็นช้างเผือกเท้าสีแดง เป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เกิดจากสกุลช้างอุโบสถ หรือสกุลช้างฉัททันต์ถ้าหากว่ามาจากสกุลช้างอุโบสถ ก็เป็นช้างที่เป็นหัวหน้าโขลงของช้าง ถ้าหากว่ามาจากช้างสกุลฉัททันต์ ก็เป็นช้างตัวสุดท้อง มีการศึกษาอบรมมาดี ควรแก่การฝึก. ช้างนั้นพาบริษัทไปสิ้น๑๒ โยชน์ครอบงำทั่วชมพูทวีป แล้วกลับมาสู่ราชธานีของตน ในเวลาก่อนอาหารเช้านั่นเทียว.

    ๓.ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) ซึ่งเกิดติดตามพระราชาแม้นั้น ก็เป็นม้าสีขาวเท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มาจากสกุลม้าวลาหก คำที่เหลือในเรื่องม้าแก้วนี้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องช้างแก้วนั้นเอง.

    ๔.แก้วมณี (มณิรัตนะ) เกิดติดตามพระราชาแม้นั้น แก้วมณีนั้นเป็นแก้วไพฑูรย์ สวยงามโชติช่วงซึ่งได้เจียระไนไว้ดี ทั้ง ๘ เหลี่ยม เช่นกับรูปดุมเกวียน มาจากภูเขาเวปุลละ แก้วมณีนั้น ขึ้นสู่ยอดธงของพระราชาแล้วย่อมส่องสว่างไปในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ถึง ๑ โยชน์ ซึ่งพวกมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่าเป็นกลางวันเพราะแสงสว่าง แล้วประกอบการงานทั้งหลาย โดยที่สุดย่อมเห็นได้แม้มดดำและมดแดง

    ๕.นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เป็นอัครมเหสีโดยปกติ หรือไม่ก็เสด็จมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็มาจากสกุลมัททราช เว้นจากโทษ ๖ ประการ มีสูงเกินไปเป็นต้น เปล่งปลั่งล่วงผิวพรรณของมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณอันเป็นทิพย์ ซึ่งในเวลาพระราชาเย็น พระกายก็อุ่น ในเวลาพระราชาร้อน พระกายของนางแก้วก็เย็น มีสัมผัสนิ่ม ดุจปุย นุ่นที่เขาชีถึง ๗ ครั้ง มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย มีกลิ่นอุบลฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น.

    ๖.ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้วทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น เพราะมีทิพยจักษุนี้แล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้างไม่มีเจ้าของบ้าง ในที่ประมาณได้ ๑ โยชน์โดยรอบขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้า พระราชาแล้ว ปวารณาตัวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงมีความขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อพระองค์.

    ๗.ขุนพลแก้ว (ปริณายกรัตนะ) ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้นก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบแหลมอย่างเหลือล้น ขุนพลแก้วนั้นกำหนดรู้จิตของบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยจิต (ของตน) ทั้งสามารถจะทำการข่มและการยกย่องเขาเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลปวารณาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จะปกครองราชสมบัติเพื่อพระองค์.พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพันองค์ ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตราครอบครองแผ่นดิน มีสาคร เป็นขอบเขตจักรแก้วถอยเคลื่อนดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นโดยล่วงไปหลายปี ร้อยปี (หลายพันปี) พระเจ้าจักรพรรดิตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูกรพ่อบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้ว อันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใดพึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียวดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี ร้อยปี (หลายพันปี) บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะพระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์ได้ทราบว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอย เคลื่อนจากที่แล้ว ฯว่าด้วยอานุภาพของจักรแก้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ ตรัสเรียกพระราชกุมารองค์ใหญ่มา รับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์องค์ใด ถอยเคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นานในบัดนี้ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้วบัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ของพ่อกุมาร มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขตแดนนี้ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต(ฤาษี) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ใหญ่ ทรงให้ราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อม น้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต(ฤาษี)แล้ว ชนทั้งหลายเรียกพระองค์ว่า พระราชฤาษีจักรพรรดิ ทัลหเนมิดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระราชฤาษีจักรพรรดิ ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ได้อันตรธานไปแล้ว ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชาผู้เป็นพระราชกุมารองค์ใหญ่ ของพระจักรพรรดิ พระองค์เก่า ผู้ได้เป็นกษัตริย์ซึ่งได้มูรธาภิเษกใหม่แล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะพระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด บัดนี้จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว พระราชาทรงเสียพระทัยและทรงเสวยแต่ความเสียพระทัย ท้าวเธอจึงเสด็จเข้าไป หาพระราชฤาษี ถึงที่ประทับแล้ว พระราชาได้กราบทูลว่าขอเดชะพระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษี จึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูกรพ่อ พ่ออย่าเสียใจ และอย่าเสวยแต่ความเสียใจไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้วดูกรพ่อ ด้วยว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์หาใช่สมบัติสืบมาจาก บิดาของพ่อไม่ ดูกรพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมี แก่พ่อผู้สระพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ฯพระราชาทูลถามว่า. พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน ฯพระราชฤาษีทรงตอบว่า. ดูกรพ่อ ถ้าเช่นนั้น พ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทำความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่จงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครองอันเป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในพวกกษัตริย์ผู้เป็นอนุยนต์ ในพวกพราหมณ์ และคฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่านี้ดูกรพ่อ การอธรรมอย่าให้มีได้ในแว่นแคว้นของพ่อเลย ดูกรพ่อ อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วยดูกรพ่อ อนึ่งสมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของพ่อ งดเว้นจากความเมา และความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยกาลอันควรแล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับกุศลคืออะไร ท่านขอรับอกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทำอยู่ พึงมีเพื่อประโยชน์เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคำของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศลพึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูกรพ่อ นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น ฯพระราชาทรงประพฤติอยู่ในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ซึ่งมีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วย อาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำพระราชาทอดพระเนตรเห็นจักรแก้วแล้ว มีพระดำริว่า ก็เราได้ยินมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกำพันหนึ่ง มีกง มีดุมบริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฎมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้มูรธาภิเษก สระพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เราได้เป็น พระเจ้าจักพรรดิ์แล้วหรือหนอลำดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว ทรงทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวาแล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงเป็น ไปเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิดขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็เป็นไปทางทิศบูรพา พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาพากันเสด็จ เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่าขอเชิญเสด็จมาเถิดมหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้วราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิดมหาราชเจ้า ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่าพวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเดิมเถิด พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศบูรพาได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไปลำดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทร ด้านบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิมท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป จักรแก้วประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิมก็พากันเสด็จ เข้าไปเฝ้าท้าวเธอได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้าอาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์พระราชทานพระบรมราโชวาทเถิด ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่าพวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวคำเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงบริโภคตามเดิมเถิดดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกพระเจ้าแผ่นดินที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตาม เสด็จท้าวเธอไปดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่ง แผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้วจึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้นได้หยุดอยู่ที่ประตู พระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับณ มุขสำหรับทำเรื่องราว สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ ฯว่าด้วยจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี องค์ที่ ๔ ก็ดีองค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดีองค์ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไป หลายปี หลายร้อยปี หลายพันปีได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่าดูกรบุรุษ ผู้เจริญ ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ในกาลใด พ่อพึงบอกแก่เราในกาลนั้นทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปีหลายพันปี บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ถอยเคลื่อนจากที่แล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับ นั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูกรพ่อกุมาร ได้ยินว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์ใด ถอยเคลื่อนออกจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิ์พระองค์นั้นพึงทรงพระชนม์มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานในบัดนี้ ก็กามทั้งหลาย อันเป็นของมนุษย์ พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้เป็นสมัยที่จะแสวงหากามทั้งหลาย อันเป็นทิพย์ของพ่อ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็น ขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารองค์ ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้า ย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือนทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงพระผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธาน ไปแล้ว ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชา ผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้วดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ได้ทรงเสียพระทัยและได้ทรงเสวยแต่ความเสียพระทัยแต่ไม่ได้เสด็จเข้าไป เฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามจึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนัยว่าท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์ ตามพระมติความคิดของพระองค์เอง ไม่ทำตามจักกวัตติวัตรประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้น คณะอำมาตย์ข้าราชบริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้างนายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่าพระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่าเมื่อพระองค์ทรงปกครอง ประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์มีอำมาตย์ข้าราชบริพาร โหราจารย์และมหาอำมาตย์ นายกองช้างนายกองม้า เป็นต้น จนคนรักษาประตู และคน เลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียวข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้า ทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์ เหล่าอื่นด้วย จำทรงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่ ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธ เจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์ฯว่าด้วยอทินนาทานดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอำมาตย์ราช บริพารโหราจารย์และมหาอำมาตย์นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น จนคนรักษา ประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเขาเหล่านั้น อันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวายท้าวเธอท้าวเธอได้ฟังคำทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกัน และคุ้มครอง อันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลายเมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่น ไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้วท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯบุรุษ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯราชา. เพราะเหตุไร ฯบุรุษ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์นี้เถิดดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่งก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเขาพากันกราบทูล อย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ ฯบุรุษ. จริงพระพุทธเจ้าข้า ฯพระราชา. เพราะเหตุไร ฯบุรุษ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงชีพมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผล ในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่ สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายด้วยทรัพย์ นี้เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดำรัสของท้าวเธอแล้ว ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่าคนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดินยังทรงพระราชทานทรัพย์ให้อีก เขาได้ยินมาจึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้เราทั้งหลายก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของ คนอื่นไป เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้วจึงแสดงแก่ท้าวเธอพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ ฯบุรุษ. จริง พระพุทธเจ้าข้า ฯพระราชา. เพราะเหตุไร ฯบุรุษ. เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้จักเจริญทวี ขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสียดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น ท้าวเธอ ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงเอาเชือกเหนียวๆ มัดบุรุษนี้ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอกด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าว ออกทางประตู ด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอก พระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดำรัสของเธอแล้ว จึงเอาเชือก เหนียวมัดบุรุษนั้นให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกนๆ ศีรษะให้โล้น แล้วพา ตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะว์เสียงกร้าวออกทางประตูด้านทักษิณ คุมตัวให้แข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนครทิศทักษิณแล้ว ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ได้ยินว่าพระเจ้าแผ่นดินให้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นอย่างแข็งแรง ทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย เพราะได้ฟังมา พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทำศัสตรา อย่างคม ครั้นแล้วจะคุมตัวบุรุษที่เราจักขโมยเอาทรัพย์ให้แข็งแรง จักทำการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย พวกเขาจึงให้ช่างทำศัสตราอย่างคมครั้นแล้วจึงเริ่มทำการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนน หนทางบ้าง คุมตัวบุคคลที่พวกเขาจักขโมยเอาทรัพย์ไว้อย่างแข็งแรง ทำการตัด ต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลนั้นเสีย ฯว่าด้วยปาณาติบาตทำให้อายุเสื่อมดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลายมุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลายแม้อายุ ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๘๐,๐๐๐ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๔๐,๐๐๐ ปีดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปเขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาผู้กษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกพร้อมด้วยกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้าบุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปดูกรภิกษุทั้งหลายเมื่อเขาพากันกราบทูลอย่าง นี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคำนี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ คนอื่นไปจริงหรือ บุรุษนั้นได้กราบทูล คำเท็จทั้งรู้อยู่ว่าไม่จริงเลยพระพุทธเจ้าข้า ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลายศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลายปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุ ของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอยแม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจาก อายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปี ก็มี อายุ๒๐,๐๐๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี บุรุษคนหนึ่งขโมย เอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่งจึงกราบทูลแก่พระราชาผู้กษัตริย์ซึ่งได้ มูรธาภิเษกเป็นการส่อเสียดว่าพระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ ขโมยเอาทรัพย์ ของคนอื่นไป ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐,๐๐๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์ทั้งสองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณดีถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น ฯว่าด้วยอกุศลกรรมบถทำให้อายุเสื่อมดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหา กษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่ หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลายกาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ กาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้ วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๑๐,๐๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕,๐๐๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความ แพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕,๐๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒,๐๐๐ ปี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของ สัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอยแม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุ บ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒,๕๐๐ ปี ก็มีอายุถอยลง เหลือ ๑,๐๐๐ ปี ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีมิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความ แพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอยเมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะ บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ,๐๐๐ ปีก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะวิสมโลภ มิจฉาธรรมก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลายแม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็ เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตร ของมนุษย์ที่มีอายุ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุ ๒๐๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี ธรรมเหล่านี้คือ ความ ไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ ถึงความแพร่หลาย ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่ พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงแก่ความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อ อทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความ แพร่หลายปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณาวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณาวาจาถึงความแพร่หลายกาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความ แพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการคือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความ แพร่หลาย มิจฉาทิฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภมิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓มีประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบใน มารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติ ชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อธรรมเหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้ วรรณะก็เสื่อมถอยเมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้างเสื่อมถอยจากวรรณะ บ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปีก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี ฯว่าด้วยความเสื่อมของกุศลอกุศลดูกรภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ใน เมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี รสเหล่านี้คือเนยใส เนยข้น น้ำมันน้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้นดูกรภิกษุทั้งหลายในเมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนข้าวสุก ข้าวสาลีระคนกับเนื้อสัตว์ จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใดดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปีแม้แต่ชื่อว่ากุศลก็จักไม่มี และคนทำกุศลจักมีแต่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูลเขาเหล่านั้นก็จักได้รับการบูชา และ ได้รับการสรรเสริญ เหมือนคนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดาปฏิบัติ ชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ในบัดนี้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่านี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อานี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยา ของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมดเปรียบเหมือน แพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้นดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาทความคิดร้าย ความ คิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับ บุตรก็ดีบุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความ อาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้าเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้ายความคิดจะฆ่า อย่างแรงกล้าฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัปสิ้น ๗ วันมนุษย์เหล่านั้นจักกลับได้ความสำคัญกันเองว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้ง หลายอันคมจักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคม นั้นโดยสำคัญว่า นี้เนื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลายครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้น บางพวกมี ความคิดอย่างนี้ว่าพวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้น เลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขามีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ระหว่างเกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน เมื่อล่วง ๗ วันไปเขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ ซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกันจักขับร้องดีใจอย่างเหลือเกินในที่ประชุม ว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้น สัตว์เหล่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา ถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลยเราควรทำกุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทาน กุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม เขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้างเจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นสัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า เรา เจริญด้วยอายุบ้างเจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่า กระนั้นเลย เราควรทำกุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นจาก อทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารควรงดเว้นจากปิสุณาวาจา ควรงดเว้น จากผรุสวาจาควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌาควรละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฐิ ควรละธรรม ๓ ประการ คืออธรรมราคะ วิสมโลภ มิจฉาธรรมอย่ากระนั้นเลยเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ควรประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ใน ตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เขาเหล่านั้นจักปฏิบัติชอบในมารดาปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติ อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะ เหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วย วรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้างบุตรของคน ผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๓๒๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปีบุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘,๐๐๐ ปีบุตรของคนมีอายุ ๘,๐๐๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง๒๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐,๐๐๐ ปี บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐,๐๐๐ ปีจักมีอายุเจริญ ขึ้นถึง ๘๐,๐๐๐ ปี ฯว่าด้วยการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ อายุยืนดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เด็กหญิงมี อายุ ๕๐๐ ปีจึงจักสมควรมีสามีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักเกิดมีอาพาธ๓ อย่าง คือ ความอยากกิน ๑ ความไม่อยากกิน๑ ความแก่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้จัก มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ชมพูทวีปนี้ประหนึ่งว่าอเวจีนรกจักยัดเยียดไป ด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าสาลพฤกษ์ฉะนั้น ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี เมืองพาราณสีนี้ จัก เป็นราชธานีมีนามว่า เกตุมดีเป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรืองมีพลเมืองมาก มีผู้คน คับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี ในชมพูทวีปนี้จักมีเมือง๘๔,๐๐๐ เมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ์ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรมเป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑ นางแก้ว ๑ คฤหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้วเป็น ที่ ๗ พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญมีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ำยีเสนาของข้าศึกได้ พระองค์ทรงชำนะโดยธรรมมิต้องใช้อาชญา มิต้อง ใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๘๐,๐๐๐ ปี พระผู้มีพระภาคทรง พระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถี ฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกพระธรรมเหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้ แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยฃปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่ พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์พระองค์นั้นจักทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม ในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.พระผู้มีพระภาคพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ ฉะนั้น ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะจักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่ พระเจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบำเพ็ญ ทาน แก่สมณพราหมณ์คนกำพร้าคนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จัก ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรง ผนวชเป็นบรรพชิต ในสำนักของพระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านักก็จักทรงทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลาย พากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ต้องการ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ฯว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรมดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างไรเล่า ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งหลายอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี ความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก เสียได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่ พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่อย่างนี้แล ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัย อันสืบเนื่องมาจากบิดาของตน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญทั้งด้วยอายุ จักเจริญทั้งด้วยวรรณะ จักเจริญทั้งด้วยสุข จักเจริญทั้งด้วยโภคะ จักเจริญทั้งด้วยพละ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทะสมาธิปธาน สังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยะสมาธิปธานสังขารเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิปธาน สังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนาก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป๑ หรือเกินกว่ากัป ๑ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรมีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อยสมาทาน ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้แลเป็นอธิบายในเรื่องวรรณะ ของภิกษุ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแก่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขามีสติ มี สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายใน เรื่องสุขของภิกษุ ฯว่าด้วยธรรมที่ทำให้อายุเป็นต้นเจริญดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้มีจิตประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุก สถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ทิศที่ ๒ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิต ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี ความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิต ประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางด้วยจิตประกอบด้วยมุทิตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่หาประมาณมิได้ ไม่มีเวรไม่มีความเบียดเบียน แผ่ ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยมีจิตประกอบด้วยอุเบกขาแผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง เบื้องบนเบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความ เป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องโภคะ ของภิกษุ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กำลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้ แสนยาก เหมือนกำลังของมารนี้เลยดูกรภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะเจริญขึ้นได้ อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นยินดีชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วดังนี้แล ฯ

๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

จักกสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระเจ้าจักรพรรดิในโลกนี้ เป็นผู้ทรงรู้ผล ๑ ทรงรู้เหตุ ๑ ทรงรู้ประมาณ ๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยธรรม๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์เทวดา มารพรหม หรือใครๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในโลกนี้ ทรงรู้จักผล ๑ ทรงรู้จักเหตุ ๑ทรงรู้จักประมาณ ๑ ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ดูกรภิกษุทั้งหลายพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมทีเดียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดามาร พรหมหรือใครๆ ในโลก จะคัดค้านไม่ได้ ฯอนุวัตตนสูตรดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆจะต้านทานมิได้ องค์ ๕ ประการเป็นไฉนคือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงรู้จักผล ๑ ทรงรู้จักเหตุ ๑ ทรงรู้จักประมาณ ๑ทรงรู้จักกาล ๑ ทรงรู้จักบริษัท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมทรงยังจักรที่พระราชบิดาทรงให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยธรรมทีเดียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ ฯดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยมที่ตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบเทียว ธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดามาร พรหมหรือใครในโลก จะคัดค้านไม่ได้ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระสารีบุตรในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักผล๑ รู้จักเหตุ ๑ รู้จักประมาณ ๑ รู้จักกาล ๑ รู้จักบริษัท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรประกอบด้วยธรรม ๕ประการนี้แลย่อมยังธรรมจักรชั้นเยี่ยม ที่ตถาคตให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามโดยชอบเทียวธรรมจักรนั้นย่อมเป็นจักรอันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจะคัดค้านไม่ได้ ฯราชสูตรพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชาแม้พระองค์ใดพระเจ้าจักรพรรดิแม้พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงยังจักรให้เป็นไป ณ ประเทศที่ไม่มีพระราชา เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้จักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชาพระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ธรรมซิ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่าดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมนั่นแหละ ทรงสักการะ เคารพ นอบน้อม ธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในชนภายใน ฯอีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรม ในกษัตริย์เหล่าอนุยนต์[พระราชวงศานุวงศ์] ในหมู่ทหารพราหมณ์คฤหบดี ชาวนิคมชนบท สมณพราหมณ์ เนื้อและนกทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรมเป็นพระธรรมราชาพระองค์นั้น ฯลฯมีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดแจงการรักษา ป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในชนภายในในกษัตริย์เหล่าอนุยนต์ ในหมู่ทหาร พราหมณ์ คฤหบดี ชาวนิคมชนบทสมณพราหมณ์ เนื้อ และนกทั้งหลายแล้ว ย่อมทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมเทียว จักรนั้นย่อมเป็นจักรอันมนุษย์ผู้เป็นข้าศึกใดๆ จะต้านทานมิได้ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ฉันนั้นเหมือนกันทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชาทรงอาศัยธรรมนั่นแหละ ทรงสักการะ เคารพนอบน้อม ธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ย่อมทรงจัดแจงการรักษาป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในพวกภิกษุว่า กายกรรมเช่นนี้ควรเสพ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพวจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ มโนกรรมเช่นนี้ควรเสพ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพอาชีวะเช่นนี้ควรเสพ อาชีวะเช่นนี้ไม่ควรเสพ บ้านนิคมเช่นนี้ควรเสพ บ้านนิคมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯอีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงดำรงอยู่ในธรรม เป็นพระธรรมราชา ฯลฯ มีธรรมเป็นใหญ่ ย่อมทรงจัดแจงการรักษาป้องกัน คุ้มครองที่เป็นธรรมในพวกภิกษุณี ... ใน

 
 คาถาพระฤาษี
 
(ให้ว่า นะโม ๓ จบ)
พุทธังชีวิตตัง ยาวะ นิพพานัง สะระณังคัจฉามิ
อิติปิโสภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะ
โต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
อุอากะสะ อากะสะอุ กะสะอุอา สะอุอากะ สะกะอาอุ
นะชาลีติ นะชาลีเต หังชาลีติ พะลิราชา ปิยังมะมะ อาคัจเฉยยะ อาคัจฉาหิ เอหิมา มา
นะ โมพุท ธา ยะ 
 
บูชาฤาษี หน้าตัก 5 นิ้ว ของร้านวรันณ์ธรนี้ สร้างจากมวลสาร 9 อย่าง ของขลังหายากมีให้บูชาที่ร้านวรันณ์ธร แห่งเดียวใน จ.อุตรดิตถ์

1. หินเพชรเงินทองนาค
ความเชื่อให้โชคลาภร่ำรวยเงินทอง

2. ไม้พญางิ้วดำ
ความเชื่อเด่นทางด้านมหาอุดคงกระพัน
คลาดแคล้วโชคลาภเมตตามหานิยมป้องกันคุณไสย์มนต์ดำ
3. ไม้กลายเป็นหิน ความเชื่อ มีตบะเดชะทางด้านอำนาจ แคล้วคลาด
ปลอดภัย ความเมตตา และโชคลาภ
4. เพชรหน้าทั่ง ความเชื่อให้โชคลาภเด่นทางค้าขายป้องกันภัยต่างๆ
5. แก้วโป่งข่าม ความเชื่อป้องกันภัยคุณไสย์มนต์ดำเปลี่ยนจากสิ่งร้ายกลายเป็นดี
6. แร่ดูดทรัพย์ ความเชื่อดูดโชคลาภทรัพย์สินเงินทองความร่ำรวยมาให้แก่ผู้ครอบครอง
7. ไหลดำไหลเขียว ความเชื่อพลิกจากร้ายกลายเป็นดีความเจริญมั่นคงก้าวหน้า
ดูดพิษแมลงได้ แก้ของร้อนเป็นสิริมงคลแก่ผู้ครอบครอง
8. รังปลวกกลายเป็นหิน ความเชื่อให้คุณทางด้านสะสมทรัพย์สินเงินทองให้พอกพูนขึ้น
9. แร่น้ำพี้ ความเชื่อล้างอาถรรพ์ป้องกันภูตผีปีศาจมนต์ดำต่างๆ
 

ต้องการบูชาฤาษี หน้าตัก 5 นิ้ว สีใด โปรดระบุ คลิกที่นี่




@line55